วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความหมายของบล็อก

Blog คืออะไร
  Blog มาจากศัพท์คำว่า Weblog ความหมายว่า  บล็อก  (Blog)
   Blog ก็คือ การบันทึกบทความของตนเอง ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog จะครอบคลุม
ได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือ เป็นบทความเฉพาะด้านเช่น เรื่องการเมือง
  จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่งที่สามารถ
 สื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายผ่านทาง
 ระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
 สรุป Blog คือเว็บไซต์ที่มีรูปแบบ  เนื้อหาเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี  link ไปยังเว็บอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
Blog มีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
  1.ชื่อบล็อก (ฺBlog Title)
      ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อของบล็อกนั้น ๆ
 2.วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)  เป็นวันที่ และมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่า บทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่
       ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
  4.ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)      อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรือ อนิเมชั่น  โดยส่วนประกอบ  เหล่านี้จะรวมเป็นเนื้อหาของบทความ
  5.คอมเม้นต์ (Comment tag)      เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆหรืออ่านคอมเม้นต์ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา
 6.ปฏิทิน (Calendar)    บล็อกบางแห่งอาจมีปฏิทินอยู่ด้วยโดยในปฏิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวกครับ
 7.บทความย้อนหลัง (Archives)     บทความเก่า หรือบทความย้อนหลังอาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อกโดยบล็อก แต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลังไม่เหมือนกันเช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์
 หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
 วิธีสร้าง contentมัดใจผู้อ่านบล็อก
 1.เขียนบทความที่มีอายุการใช้งานนาน ๆ
    บทความบางเรื่องมีอายุการใช้งานสั้นมาก  เช่น บทความจำพวกข่าวต่างๆ  สำหรับการ
 เขียนบทความที่มีอายุการใช้งานได้นานๆ นั้น  ไม่ควรระบุระยะเวลาเพื่อจะทำให้บล็อกเกอร์
 คนอื่นพูดถึงบทความของคุณได้บ่อย ๆ
 2.เขียนบทความขึ้นเองอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
     บทความที่จะสร้างให้ blog ของคุณเป็นที่  กล่าวขวัญก็คือ บทความที่เขียนด้วยตัวคุณเอง
 และไม่ซ้ำกับใคร บทความแบบนี้เขียนไม่ยาก ลองนึกถึงการเขียนด้วยความคิดของคุณเองหรือ
 มุมมองของคุณเอง
 3.เขียนข่าวก่อนคนอื่น
    หากเราเป็นบล็อกที่รายงานข่าว ก็ลอง เขียนข่าวให้เร็วกว่าคนอื่น ถ้าเรารายงานข่าวได้เร็วกว่าคนอื่น นั่นจะทำให้ผู้อ่านคิดถึงเราเป็นคนแรก หากต้องการอ่านข่าว
 4.เจาะลึกเฉพาะทาง
       ข้อนี้จะเข้าข่ายเนื้อหาเจาะลึกตรงประเด็น หากคุณสนใจเรื่องเกมและบล็อกของคุณเขียน
  แต่เรื่องเกมแล้วล่ะก็ ลองเจาะมันให้ลึกเอาให้ละเอียดในเนื้อหาเฉพาะด้านของเกม  เช่น
  ข่าวเกม เฉลยเกม
 เขียน blog เกี่ยวกับเรื่องอะไรดี
 เมื่อคุณเริ่มมีความคิดที่จะเขียนบล็อก  แต่ยังไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีลองนึกถึง
 เรื่องราวใกล้ตัว ที่คุณชอบและคุณถนัดที่สุดอาจจะเป็นเรื่องที่คุณมีความรู้ลึกซึ้ง หรือที่คุณสนใจจะเรียนรู้มันนั่นจะเป็นหัวเรื่องให้คุณเขียนถึงได้เป็นอย่างดี เช่น หากคุณเลี้ยงสุนัขพันธุ์ชิสุอยู่  คุณอาจจะทำ blog เกี่ยวกับชิสุโดยเนื้อหาใน blog ของคุณอาจเขียนถึงวิธีการดูแลสุนัขชิสุ หรือพูดถึงข่าว
 สารวงการสุนัขชิสุ โดยคุณจะสนุกกับการหา ข้อมูลมาเขียนและจะได้มีความรู้มากขึ้นใน เรื่องสุนัขชิสุด้วย
 
3.ชื่อบทความ (Entry Title)

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์คืออะไร
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
  1. รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
  2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
  3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
  4. เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
แสดงขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

  • คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
    ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือการสร้าง สารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคนก็ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ คือ
    • ความเร็ว (speed) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
    • ความเชื่อถือ (reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
    • ความถูกต้องแม่นยำ (accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็น มักเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่เข้าสู่โปรแกรม
    • เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ (store massive amounts of information) ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้าน ๆ ตัวอักษร
    • ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอรซึ่งสามารถส่งพจนานุกรมหนึ่งเล่มในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลคนซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวินาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
    ผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ จะต้องศึกษาหลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมทั้งจะต้องศึกษาถึงผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ต่อสังคมในวันนี้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยในแง่บวกนั้นจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป นั่นคือทำให้สามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์จดหมาย การจัดทำหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การจ่างเงินซื้อสินค้า ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ และในทางการแพทย์อื่น ๆ อีกมากมาย
    ในแง่ลบก็มีไม่น้อย เช่น
    • โรงงานผลิตอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดมลพิษต่าง ๆ มากมาย
    • ผู้ใช้อาจมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เช่น อาจมีการปวดหลังไหล่ที่เกิดจากการนั่งอยู่หน้าเครื่องนาน ๆ หรืออาจเกิดอาการ Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อมูลถูกกดทับเป็นเวลานาน ๆ โดยอาจเกิดจากการใช้คีย์บอร์ดหรือเมาส์ รวมทั้งอาจมีอันตรายจากรังสีออกมาจากจอคอมพิวเตอร์ด้วย
    • ถ้าคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดในระบบที่มีความสำคัญมาก ๆ อาจเป็นอันตรายกับชีวิตมนุษย์ได้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ เป็นต้น

  • ประเภทของคอมเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือ ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการใช้งานกันมาก ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ตลอดจนในสถานศึกษาต่างๆ ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงกว่าเครื่องขนาดใหญ่ในสมัยก่อนเสียอีก อย่างไรก็ดีแม้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำไม่สามารถทำงานที่ใหญ่ และมีความซับซ้อนได้ เช่น งานของระบบธนาคารหรืออุตสาหกรรมซึ้งมีปริมาณมากและมีความซับซ้อนจะเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้ดีกว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
  • องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Sofeware) บุคลากร (Peopleware) ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information) และกระบวนการทำงาน (Procedure)
  • วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

เกร็ดความรู้เรื่องทั่วไปที่น่าสนใจ

น้ำมันมะกอก แก้นอนกรน


มะกอกจัดเป็นผลไม้ที่มีเม็ดในแข็ง หนึ่งลูกจะมีหนึ่งเมล็ด เป็นพืชที่ทนได้ทุกสภาวะอากาศ ดอกมะกอกจะออกช่อในช่วงปลายฤดูหนาว มีดอกเล็กๆ สีขาว ผลจะโตเต็มที่ประมาณ 7-8 เดือนหลังออกดอก
ลำต้นจะสูงตั้งแต่ 3 เมตร จนถึง 18 เมตร ใบเรียวยาวสีเขียวเข้ม มีหลากหลายพันธุ์

ตัวผลมีรสขมและฝาด เมื่อแก่จัดสีจะเปลี่ยนจากเขียวจนเป็นสีคล้ำจนเกือบดำ มะกอกเป็นผลไม้ที่มีน้ำมันมากที่สุด ในผลมะกอกที่แก่จัด 100 กรัม ให้น้ำมันถึง 20-30 กรัม การสกัดเอาน้ำมันต้องเลือกผลที่แก่จัด จึงจะได้น้ำมันมะกอกที่มีประสิทธิภาพ

น้ำมันมะกอกถึงแม้จะมีแคลอรี่สูง แต่มีข้อดี คือ มีกรดไขมันชนิดที่เป็นประโยชน์กับร่างกายสูง ทำให้ไม่เกิดไขมันสะสมในร่างกาย และน้ำมันมะกอกยังช่วยให้คนที่มีอาการนอนกรนลดเสียงกรนให้เบาลงได้ ด้วยการกินน้ำมันมะกอกสำหรับทำอาหาร ซึ่งควรเลือกแบบ EXTRA VIRGIN OLIVE OIL เพราะ เป็นแบบบริสุทธิ์ มีสีเขียวเข้มใส และนิยมนำมาใช้ในการทำสลัด 

กินสัก 4-5 หยดก่อนนอน ทำอย่างต่อเนื่อง
และทำควบคู่ไปกับวิธีดูแลสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมน้ำหนักให้อยู่
ในระดับมาตรฐาน จะช่วยแก้ปัญหานอนกรน
ให้หมดไปได้

ที่มา : นิตยสารชีวจิต ฉบับ 1 มี.ค. 2552,
ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก - http://http://www.pantown.com/board.php?id=10764&area=4&name=board11&topic=31&action=view
มารู้จักน้ำมันมะกอก (Olive Oil) กันดีกว่า - http://googigg.exteen.com/20080918/olive-oil-2

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

งานเขียนแบบ

การเขียนเเบบ

 เครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบ

สาระการเรียนรู้อุปกรณ์และเครื่องมือเขียนแบบนับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้สามารถเขียนแบบได้ดี รวดเร็ว และประหยัดเวลา การเขียนแบบให้ได้มาตรฐานจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือและวัสดุเขียนแบบอย่างถูกต้อง จึงควรทำความเข้าใจกับเครื่องมือเขียนแบบ เพื่อให้การเลือกซื้ออุปกรณ์ และเครื่องมือที่ถูกต้องมีคุณภาพดี
เนื้อหา
1. ชนิดของเครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ
2. การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ
จุดประสวค์การเรียนรู้
1. บอกชนิดของเครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบได้
2. สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์แต่ละชนิดเขียนแบบได้ถูกต้อง
แบบงานที่ถูกต้องสมบูรณ์นั้น นอกจากจะอาศัยทักษะของผู้เขียนแบบแล้ว เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบก็มีส่วนสำคัญ และมีส่วนช่วยให้การเขียนแบบได้แบบงานที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ทำให้ช่างเทคนิคหรือผู้ผลิตสามารถเข้าใจรายละเอียดต่างๆ และนำไปผลิตให้ได้งานที่มีคุณภาพตามต้องการ การเขียนแบบที่ถูกต้องชัดเจนมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ผู้เขียนต้องมีประสบการณ์และความชำนาญการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง ซึ่งเครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบมีดังนี้
1 ชนิดของเครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ
ในงานเขียนแบบทั่วไป แบบงานจะสำเร็จสมบูรณ์ได้มาตรฐาน นอกจากจะต้องใช้ทักษะของผู้ปฏิบัติงานแล้ว เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะ เครื่องมือมีส่วนที่จะช่วยให้งานเขียนแบบมีคุณภาพได้มาตรฐาน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบพื้นฐานประกอบด้วย
1. โต๊ะเขียนแบบและกระดานเขียนแบบ
การเขียนแบบทางอุตสาหกรรมขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่จะใช้โต๊ะเขียนแบบซึ่งมีโครงสร้างแตกต่างกันไป แล้วแต่บริษัทผู้ออกแบบ แต่โดยทั่วไปจะมีความสูงเป็นมาตรฐานเดียวกัน หรือบางชนิดอาจปรับความสูงให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ พื้นโต๊ะจะเรียบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขอบด้านข้างตรงและได้ฉาก มีขนาดต่างกัน ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ 500 x 600 มม. (ดังรูป 2.1)
กระดานเขียนแบบ ส่วนมากใช้สำหรับงานสนาม แต่ก็ใช้ในโรงเรียนบ้างเหมือนกัน ในกรณีที่ไม่มีโต๊ะเขียนแบบ(ดังรูป 1.1)

5
รูปที่ 2.1 โต๊ะเขียนแบบมาตรฐาน
6
รูปที่ 2.2 กระดานเขียนแบบ
2. อุปกรณ์ที่ใช้ขีดเส้น
อุปกรณ์ที่ใช้ในการขีดเส้น ได้แก่ ไม้ที บรรทัดสามเหลี่ยม และบรรทัดสเกล
2.1 ไม้ที เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเขียนแบบ ไม้ที มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนหัว และ ส่วนใบ ทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือ พลาสติกใส ทั้ง 2 ส่วน จะยึดตั้งฉากกัน ไม้ที ใช้สำหรับขีดเส้นในแนวนอน และใช้ประกอบกับฉากสามเหลี่ยม ขีดเส้นในแนวตั้งฉาก และขีดเส้นเอียงทำมุมต่างๆ (ดังรูป 2.3)


7
รูปที่ 2.3 ไม้ที และลักษณะการใช้งาน
2.2 บรรทัดสามเหลี่ยม โดยทั่วไปทำจากพลาสติกใส เพื่อจะได้มองเห็นส่วนอื่นๆ ของแบบได้อย่างชัดเจน บรรทัดสามเหลี่ยมใช้สำหรับขีดเส้นดิ่งและเส้นเอนทำมุมต่างๆ ปกติจะใช้คู่กับ ไม้ที มี 2 แบบ คือ แบบตายตัว ซึ่งมีค่ามุม 45-90-45 องศา กับค่ามุม 30-90-60 องศา และแบบปรับมุมต่างๆ ได้ (ดังรูป 2.4)
8910
บรรทัดสามเหลี่ยม 30-60 องศาบรรทัดสามเหลี่ยม 45 องศาบรรทัดสามเหลี่ยม แบบปรับมุมได้
รูปที่ 2.4 ลักษณะของสามเหลี่ยมแบบต่างๆ
2.3 บรรทัดมาตราส่วน ใช้วัดขนาด มีความยาวต่างกัน ตั้งแต่ 150, 300, 400, และ 600 มิลลิเมตร มีมาตราส่วนต่างๆ เพื่อใช้เขียนรูปได้หลายขนาด คือ
- มาตราส่วนขนาดเท่าของจริง 1 : 1
- มาตราส่วนย่อ 1 : 2, 1 : 5, 1 : 10, 1 : 100, 1 : 1000 เป็นต้น
- มาตราส่วนขยาย 2 : 1, 5 : 1, 10 : 1, 100 : 1, 1000 : 1 เป็นต้น
มาตราส่วนเท่าของจริง, มาตราส่วนย่อ, หรือมาตราส่านขยาย จะนำไปใช้งานในแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน (ดังรูป 2.5)


11
รูปที่ 2.5 บรรทัดมาตราส่วน
3. อุปกรณ์เขียนส่วนโค้ง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนส่วนโค้งมีหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะงานและการนำไปใช้ เช่น วงเวียน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ วงเวียนที่ใช้เขียนส่วนโค้ง และวงเวียนที่ใช้ถ่ายขนาด เป็นต้น
3.1 วงเวียน เป็นอุปกรณ์สำหรับเขียนวงกลม หรือส่วนโค้ง วงเวียนมีหลายแบบ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน (ดังรูป 2.6)

12ลักษณะวงเวียน13หมุนส่วนโค้งตามเข็มนาฬิกา
รูปที่ 2.6 วงเวียนที่ใช้ในการเขียนแบบ
3.2 วงเวียนถ่ายขนาด เป็นวงเวียนที่มีปลายแหลม 2 ข้าง วงเวียนชนิดนี้ใช้สำหรับถ่ายขนาด ที่วัดขนาดจากฟุตเหล็ก หรือฉากสามเหลี่ยม แล้วนำไปถ่ายลงบนแบบทำให้สามารถแบ่งเส้นตรง แบ่งวงกลม ให้มีขนาดเท่าๆ กันได้สะดวกและรวดเร็วง่ายต่อการเขียนแบบ (ดังรูป 2.7)

14
รูปที่ 2.7 วงเวียนถ่ายขนาด
3.3 บรรทัดเขียนส่วนโค้ง (Curves) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเขียนส่วนโค้งชนิดหนึ่ง การใช้บรรทัดส่วนโค้งจะต้องใช้ส่วนโค้งของบรรทัดสัมผัสจุด อย่างน้อย 3 จุด เพื่อให้ได้ส่วนโค้งที่ดี มีความต่อเนื่อง ซึ่งต่างกับการใช้วงเวียนที่มีระยะรัศมีเท่ากันทุกจุดของเส้นโค้งนั้นๆ แผ่นโค้งนี้ให้ความสะดวกในการทำงานสูง ซึ่งผู้ใช้เองก็ต้องระมัดระวังในการใช้งานให้ดี หมุนปรับให้ได้ตำแหน่ง ก่อนที่จะทำการลากเส้นโค้งนั้น แผ่นเขียนโค้งและการเขียนโค้งโดยใช้แผ่นเขียนโค้งในรูปแบบต่างๆ (ดังรูป 2.8)
15
บรรทัดเขียนส่วนโค้ง
16
ลักษณะการเขียนบรรทัดส่วนโค้ง
รูปที่ 2.8 แผ่นเขียนโค้งแบบต่างๆ ที่ใช้งาน
4. กระดาษเขียนแบบ
กระดาษเขียนแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบนิ้ว และ ระบบมิลลิเมตร ต่อมาได้ปรับปรุงให้เป็นระบบสากล โดยใช้ระบบ ISO (International System Organization) ซึ่งยอมรับทั้งระบบอเมริกันและยุโรป นอกจากนั้น ประเทศไทยยังได้ผลิตมาตรฐานเป็น (มอก.) โดการเขียนแบบทั่วไปทางเครื่องกลซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับมาตรฐาน ISO ซึ่งมาตรฐานของกระดาษในระบบต่างๆ ได้แสดงไว้ใน (ตารางที่ 1)


ตารางที่ 1 ขนาดกระดาษเขียนแบบ
เมตริก (มิลลิเมตร)อังกฤษ (นิ้ว)
ขนาดกว้าง x ยาวขนาดกว้าง x ยาว
A0814 x 1,189E34 x 34
A1594 x 841D22 x 34
A2420 x 594C17 x 22
A3297 x 420B11 x 17
A4210 x 297A8.50 x 11
A5148 x 210-5.83 x 8.27
A6105 x 148-4.13 x 5.83
กระดาษเขียนแบบขนาด A0 ขนาด 841 x 1189 ม.ม. สามารถแบ่งได้เป็นขนาด A1 จำนวน 2 แผ่น และถ้านำกระดาษ A1 มาแบ่งจะได้กระดาษ A2 จำนวน 2 แผ่น ........... ดังนั้น สามารถแบ่งกระดาษได้จนถึง A6 (ดังรูป 2.9)
17
รูปที่ 2.9 แสดงสัดส่วนการแบ่งกระดาษ A0-A6
ตารางรายการ เป็นตารางบอกรายละเอียดของชิ้นงานแต่ละชิ้นที่ประกอบกันหลายชิ้น เช่น จำนวนที่ใช้ ชื่อชิ้นงาน ขนาดวัสดุ ประเภทของวัสดุที่ใช้ หมายเลขแบบ ผู้เขียน และผู้ตรวจ สามารถจำแนกได้ตามลักษณะการใช้งานในสถานศึกษา หรือสถานประกอบการ (ดังรูป 2.10)
18
19
รูปที่ 2.10 แสดงตารางประกอบแบบ
5. ดินสอเขียนแบบ
เป็นเครื่องมือที่ใช้ขีดเส้นบนกระดาษเขียนแบบ เพื่อแสดงรูปร่างต่างๆ ให้เป็นแบบที่ใช้งาน ดินสอเขียนแบบสามารถแบ่งได้เป็นหลายชนิดคือ
5.1 ดินสอชนิดเปลือกไม้ (ดังรูป 2.11)
20
รูปที่ 2.11 ดินสอชนิดเปลือกไม้
5.2 ดินสอชนิดเปลี่ยนไส้ได้ จะเป็นดินสอที่มีโครงด้ามเป็นโลหะ หรือพลาสติก และใส่ไส้ดินสออยู่ข้างใน ดินสอชนิดนี้จะมีการออกแบบมาใช้งานไว้มากมายหลายชนิด (ดังรูป 2.12 และ 2.13)
21
รูปที่ 2.12 ดินสอชนิดเปลี่ยนไส้
22
รูปที่ 2.13 ดินสอชนิดเปลี่ยนไส้แบบไส้เข็ม และขนาดของไส้ดินสอ
เกรดใส้ดินสอ แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 เกรด คือ
- ดินสอที่มีไส้แข็งมาก (Hard)
- ดินสอที่มีไส้แข็งปานกลาง (Medium)
- ดินสอแบบไส้อ่อน (Soft)
แล้วจึงแบ่งย่อยตามลำดับความแข็งอ่อนของแต่ละกลุ่ม โดยใช้วิธีให้ตัวเลขเป็นตัวกำหนดร่วมกับตัวอักษร ดังนี้
1. ดินสอที่มีไส้แข็งมาก (Hard) มีตั้งแต่ เบอร์ 9H-4H ใช้สำหรับขีดเส้นร่างรูป เส้นที่ใช้เขียนต้องเป็นเส้นบาง เช่น ร่างรูป เส้นบอกขนาด และเส้นช่วยบอกขนาด (ดังรูป 2.13)
23
รูปที่ 2.13 ดินสอไส้แข็ง
2. ดินสอที่มีไส้แข็งปานกลาง (Medium) มีตั้งแต่ เบอร์ 3H-B ใช้สำหรับใช้สำหรับงานเขียนแบบงานสำเร็จรูป เช่น เส้นขอบชิ้นงาน เส้นแสดงแนวตัด และสัญลักษณ์แนวเชื่อม (ดังรูป 2.14)

24
รูปที่ 2.14 ดินสอไส้แข็งปานกลาง
3. ดินสอแบบไส้อ่อน (Soft) มีตั้งแต่ เบอร์ 2B-7B ใช้ในงายศิลปะ วาดภาพ แรเงา ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการเขียนแบบ (ดังรูป 2.15)
25
รูปที่ 2.15 ดินสอไส้อ่อน
26
รูปที่ 2.16 ลักษณะปลายดินสอที่ใช้ในงานเขีบนแบบ
6. ปากกาเขียนแบบ
ปากกาเขียนแบบในปัจจุบันนิยมใช้ปากกาเขียนแบบหมึกซึม ขนาดความโตของปากกาเขียนแบบจะมีขนาดเท่าขนาดของเส้นมาตรฐานสากลที่ใช้ในงานเขียนแบบ (ดังรูป 2.17)


27
รูปที่ 2.17 ปากกาเขียนแบบ
7. อุปกรณ์ทำความสะอาด
แบบงานที่มีคุณภาพนั้น นอกจากจเขียนได้ถูกต้อง สมบูรณ์ ได้มาตรฐานแล้วนั้น แบบงานจะต้องสะอาด ดังนั้นอุปกรณ์ทำความสะอาดจึงมีความจำเป็นมาก เช่น 
7.1 แปรงปัด เป็นแปรงขนอ่อนใช้สำหรับปัดฝุ่นบนกระดาษเขียนแบบ และปัดเศษยางลบ (ดังรูป 2.18)

28
รูปที่ 2.18 แปรงปัดฝุ่น ทำความสะอาดงานเขียนแบบ
7.2 ยางลบ ใช้สำหรับลบงาน มีลักษณะเป็นยางอ่อนซึ่งจะไม่ทำให้กระดาษเป็นขุยหรือเป็นรอย (ดังรูป 2.19)

29
รูปที่ 2.19 ยางลบดินสอ
7.3 แผ่นกันลบ ทำจากโลหะบางเบา เจาะรูไว้หลายลักษณะ ใช้กันลบตรงบริเวณที่ขีดเส้นผิดพลาด (ดังรูป 2.20)
30
รูปที่ 2.20 แผ่นกันลบ
2 การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ
1. การติดกระดาษเขียนแบบ
การติดกระดาษเขียนแบบควรติดด้วยเทปสำหรับติดกระดาษโดยเฉพาะ เพื่อความะดวกในการแกะแบบ และป้องกันมุมของกระดาษเสียหายเนื่องจากการแกะแบบ การติดกระดาษควรจัดกระดาษให้ขนานกับโต๊ะเขียนแบบ โดยใช้ ไม้ที เป็นเครื่องตรวจสอบความขนานของกระดาษ จากนั้นใช้เทปติดกระดาษที่มุมบนทั้งสองข้าง แล้วเลื่อนไม้ทีลงไปข้างล่าง ซึ่งไม้ทีจะช่วยกดกระดาษให้เรียบกับพื้นโต๊ะ จากนั้นจึงใช้เทปติดมุมกระดาษข้างล่างทั้งสองข้าง (ดังรูป 2.21)


31
รูปที่ 2.21 จัดกระดาษให้ขนานกับไม้ที ติดเทปยึดกระดาษเขียนแบบ
2. การใช้ไม้ที ประกอบการขีดเส้นด้วยบรรทัดสามเหลี่ยม
การขีดเส้นตรงในแนวนอนจะใช้ไม้ทีแนบกับขอบโต๊ะเขียนแบบ พร้อมทั้งหมุนดินสอช้าๆ ขณะลาดเส้น ดินสอจะเอียงทำมุม 60 องศา กับกระดาษเขียนแบบ(ดังรูป 2.22, 2.23 และ 2.24)

32
รูปที่ 2.22 การขีดเส้นตรงในแนวนอน
33
รูปที่ 2.23 การขีดเส้นตรงในแนวดิ่ง
34
รูปที่ 2.24 ลักษณะ วิธีการใช้ไม้ทีและบรรทัดสามเหลี่ยมประกอบการขีดเส้น
3. การใช้วงเวียน เขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง
วิธีการเขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง ให้ปรับขาวงเวียนข้างที่เป็นเหล็กแหลมยาวกว่าข้างที่เป็นไส้เล็กน้อย เพราะปลายแหลมต้องปรับจมลงในกระดาษ เมื่อปรับได้รัศมีที่ต้องการแล้ว ให้จับด้านวงเวียนด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ หมุนวงเวียนตามเข็มนาฬิกา และให้เอนวงเวียนไปในทิศทางของการลากเส้นเล็กน้อย พยายามหมุนวงเวียนเพียงครั้งเดียว เพื่อให้ได้เส้นที่คมและสมบูรณ์ (ดังรูป 2.25)


35
รูปที่ 2.25 การใช้วงเวียนเขียนส่วนโค้ง
การใช้วงเวียนวัดระยะหรือดิไวเดอร์ ต้องระวังอย่ากดแรงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดรูที่ไม่เรียบร้อยบนกระดาษ และจะทำให้วงเวียนถ่างออกเสียระยะอีกด้วย
การหมุนดิไวเดอร์ควรหมุนสลับข้างซ้ายขวาของเส้นตรง เพื่อหักล้างความคลาดเคลื่อนสะสมใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น (ดังรูป 2.26)

36
รูปที่ 2.26 การใช้งานของวงเวียนถ่ายขนาดวัดระยะ
ประเภทของการเขียนเเบบ
งานเขียนแบบ มีความสำคัญสำหรับช่างทุกช่าง ซึ่งจะต้องมีการออกแบบ เขียนแบบทุกครั้งที่จะทำการผลิตชิ้นงานออกมา จึงพูดได้ว่างานเขียนแบบเป็นหัวใจของช่างทุกชนิด ในสมัยโบราณการเขียนแบบไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ แต่ช่างพยายามถ่ายทอดความคิดลงในแผ่นหิน โดยมิได้แยกชิ้นส่วนให้เห็นชัด ตามชนบทเมื่อมีการปลูกสร้างบ้านก็มีการเขียนแบบแปลนบ้านตามพื้นดินในบริเวณปลูกสร้าง ซึ่งจะดีกว่าที่จะทำโดยไม่มีแบบแผนเลย



      การกำเนิดของการเขียนแบบไม่มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัน เวลาที่ชัดเจน การเขียนแบบสันนิษฐานว่า เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เพราะจะสังเกตจากถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ จะบันทึกโดยการเขียนเส้นหรือภาพไว้บนก้อนหิน ผนังถ้ำ เมื่ออารยธรรมได้รับการพัฒนา มีการคิดค้นและสร้างเครื่องมือ และเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น จากผลงานการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ของ นักวิทยาศาสตร์ โดยการแสดงออกด้วยแนวความคิดถ่ายทอดมาเป็นกราฟิกแล้วค่อยๆพัฒนาจนเป็นระบบที่ทันสมัย โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพสูงสุด ดังจะเห็นได้ทุกวันนี้ 
      
 ฉะนั้นการเขียนแบบก็เป็นวิชาหนึ่ง ซึ่งใช้กันในงานอุตสาหกรรมทั่วโลก เพื่อแสดงรูปร่างและลักษณะของสิ่งที่ต้องการผลิตออกมา วิชาเขียนแบบเป็นวิชาที่ไม่มีคำอธิบายบอกรูปลักษณะ และขนาดของสิ่งของ แต่วิชาเขียนแบบเป็นการแสดงให้เห็นภาพอย่างแจ่มชัด ทั้งลักษณะรูปร่าง ขนาด ทุกส่วนอยู่แล้ว ดังนั้นการเขียนแบบเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ในงานช่างและงานสร้างสรรค์

                  ลักษณะอาชีพงานเขียนแบบ แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
      ๑. การเขียนแบบทางวิศวกรรม ( Engineering Drawing ) นำเอาไปใช้ในงานเครื่องจักรกลมากกว่าอย่างอื่น การเขียนแบบชนิดนี้แยกออกได้ดังนี้
            ๑.๑ การเขียนแบบเครื่องกล
            ๑.๒ การเขียนแบบงานไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า
            ๑.๓ การเขียนแบบเครื่องยนต์
            ๑.๔ การเขียนแบบงานแผนที่และช่างสำรวจ
            ๑.๕ การเขียนแบบงานช่างกลและโลหะแผ่น
     ๒. การเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม ( Architectural Drawing ) เป็นการเขียนแบบทางด้านก่อสร้าง แยกงานเขียนแบบชนิดนี้ออกได้ดังต่อไปนี้
            ๒.๑ การเขียนแบบโครงสร้าง

        
 ๒.๒ การเขียนแบบสัดส่วนของรูปต่างๆ
            ๒.๓ การเขียนแบบภาพหวัด

        การเขียนแบบ มีความหมาย คือ การเขียนรูปลงในกระดาษเขียนแบบ ซึ่งมีคำอธิบายไว้ในแบบอย่างพร้อมมูล โดยการเขียนรูปสัญลักษณ์ หรือเส้นลงไว้ในแบบ ซึ่งทำให้ผู้นำเอาไปสร้างของจริงขึ้นมาได้ การเขียนแบบเทคนิค เป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องมีความรู้ทางทฤษฎีประกอบ เช่น ช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ และอื่นๆมาประยุกต์เป็นรูปแบบภาพลายเส้นที่มีสัญลักษณ์ประกอบ เพื่อนำมาแสดงให้ผู้อ่านแบบงานได้เข้าใจความหมายได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องมีคำบรรยายประกอบมากมาย ทำให้การทำงานได้รวดเร็วขึ้น ผู้เขียนแบบจะต้องเป็นผู้ถ่ายทอดความคิด หรือเสนอความคิดของตนเอง และเขียนภาพสเก็ตซ์จากวิศวกร สถาปนิก และนักวิทยาศาสตร์ให้มาเป็นภาพเขียนแบบเทคนิคที่จะนำมาใช้ในการผลิตและสร้างในการสเก็ตซ์ภาพหรือเขียนแบบที่กำหนดให้มีมาตราส่วนและแสดงรายละเอียด บางครั้งผู้เขียนแบบอาจจะต้องคำนวณความแข็งแรง คุณภาพ ปริมาณ และราคาวัสดุ ก่อนที่จะเริ่มเขียนแบบ เราควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ในสำหรับเขียนแบบ และวิธีใช้ให้ดี เพื่อให้ได้ผลงานเรียบร้อยรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการทำงาน ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องมือเขียนแบบให้มีสภาพดีอยู่ได้นาน
การใช้เครื่องมืออุปกรณ์การเขียนแบบ

           เครื่องมือเขียนแบบและหน้าที่วิธีการใช้   มีดังนี้

        ๑. โต๊ะเขียนแบบ หรือกระดานเขียนแบบ ( Drawing Board ) ใช้รองกระดาษเขียนแบบ ในกรณีที่ไม่มีโต๊ะเขียนแบบ ให้ใช้กระดานเขียนแบบแทนก็ได้
             

        ๒. ไม้ฉากรูปตัวที ( T - Square ) มีลักษณะคล้ายรูปตัว T ซึ่งมีส่วนประกอบ ๒ ส่วน คือ ส่วนหัว ( Fixed Head ) และส่วนตัวไม้ทีประกบกันเป็นมุม ๙๐ องศา ใช้สำหรับเขียนเส้นตรงในแนวนอน หรือเส้นระดับอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะต้องใช้ร่วมกับโต๊ะเขียนแบบหรือกระดานเขียนแบบ พร้อมนี้จะต้องใช้ร่วมกับฉากสามเหลี่ยม (Set - Square)สำหรับลากเส้นให้เป็นมุมต่างๆ ลักษณะของไม้ฉากที หรือ T - Square ที่ดีนั้น หัวไม้ฉากทีต้องไม่โยกคลอน ยึดติดกันแน่นกับก้านไม้ตัวขวางของไม้ฉากที ขอบบนของตัวไม้ฉากทีต้องเรียบและตรงไม่บิดงอ การเขียนเส้นนอนต้องลากเส้นจากซ้ายไปขวาเสมอ หัวไม้ฉากทีแนบกับโต๊ะเขียนแบบด้านซ้ายมือจรดปลายดินสอให้เอนไปในทิศทางของการลากเส้นทำมุมกับกระดาษเขียนแบบเป็นมุม ๖๐ องศา ขณะเดียวกันให้ดินสอเอนออกจากขอบบรรทัดเล็กน้อย เพื่อให้ปลายดินสออยู่ชิดขอบบรรทัดมากที่สุด ในขณะที่ลากเส้น ควรหมุนดินสอไปด้วย ซึ่งจะช่วยรักษาปลายไส้ดินสอเป็นกรวยแหลม และช่วยให้เส้นดินสอโตสม่ำเสมอกัน
                              
   
    ๓. ฉากสามเหลี่ยม ( Set - Square ) ชุดหนึ่งมีอยู่ ๒ แบบ มีมุมต่างกันดังนี้ อันแรกเรียกว่า ฉาก ๓๐ ๖๐, และ ๙๐ องศา ส่วนอันที่ ๒ เรียกว่า ฉาก ๔๕, ๔๕, และ ๙๐ องศา การเขียนมุมของฉากสามเหลี่ยมทั้ง ๒ อันนี้ จะต้องใช้ร่วมควบคู่กับไม้ฉากทีทุกครั้ง ในขณะทำการปฏิบัติงานเขียนแบบ
       ฉากสามเหลี่ยมใช้สำหรับเขียนเส้นตรงในแนวดิ่ง และเส้นเอียงทำมุมต่างๆ เวลาเขียนเส้นดิ่งให้ลากดินสอขึ้นไปตามแนวดิ่ง จับดินสอให้เอนไปในทิศทางของการลากเส้น ทำมุม ๖๐ องศา กับกระดานเขียนแบบ และให้ดินสอเอนออกจากตัวฉากสามเหลี่ยมเล็กน้อย


                                   
      ๔. วงเวียน เป็นอุปกรณ์สำหรับเขียนวงกลม หรือส่วนโค้ง ด้วยดินสอดำหรือหมึกก็ได้ วงเวียนมีหลายแบบ สามารถเลือกใช้แล้วแต่ความสำคัญของความต้องการในแต่กรณี วิธีเขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง ให้ปรับขาวงเวียนที่เป็นเหล็กแหลม ให้ยาวกว่าข้างที่เป็นไส้ดินสอเล็กน้อย ใช้ปลายแหลม ปักลงตรงจุดที่กำหนดให้เป็นศูนย์กลางของวงกลม ปรับขาวงเวียนจนกางได้ระยะเท่ากับรัศมีที่ต้องการจับก้านวงเวียนไว้ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ หมุนวงเวียนเอนไปในทิศทางของการลากเส้นเล็กน้อย พยายามเขียนวงกลมให้สมบูรณ์ โดยการหมุนวงเวียนไปเพียงครั้งเดียว

                            
      ๕. ดินสอดำ หรือดินสอเขียนแบบ ( Drawing Pencil ) ดินสอเขียนแบบทำด้วยไส้ดินสอที่มีระดับความแข็งต่างกัน ความแข็งของไส้ดินสอมีการระบุไว้บนแท่งดินสอด้วยตัวเลขและตัวอักษร ดินสอที่ใช้ในการเขียนแบบ ควรมีความอ่อนแข็งดังนี้ ๒H, ๓H, H, HB อย่างน้อยควรมี ๔ แท่ง คือ ดินสอที่มีไส้อ่อนได้แก่เกรด F, HB ไส้ขนาดกลาง H – ๒H ไส้แข็ง ๔H – ๕H ในงานเขียนแบบปัจจุบันนี้นิยมใช้ดินสอสำเร็จแบบไส้เลื่อน หรือไส้กด เพราะสะดวกรวดเร็วไม่เสียเวลาต่อการเหลาดินสอ มีความยาวคงที่ บรรจุไส้ใหม่สะดวก ทำให้งานสะอาด ไม่สกปรก
             
      ๖. ยางลบ ควรเป็นยางลบชนิดนุ่มๆมีคุณภาพใช้ลบดินสอดำที่เขียนผิด หรือลบในสิ่งที่ต้องการจะลบ

             
  
    ๗. กระดาษเขียนแบบ มีทั้งขนาดความหนา ๘๐ ปอนด์ ถึง ๑๐๐ ปอนด์ เป็นชนิดไม่มีเส้นขนาดความกว้างความยาว แล้วแต่จะต้องการเขียนหรือต้องการใช้ขั้นตอนการติดกระดาษเขียนแบบที่ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนต่างๆ มีดังนี้ ให้นำกระดาษเขียนแบบที่มีขนาดต่างๆตามความต้องการเขียนแบบวางลงบนพื้นกระดานโต๊ะเขียนแบบหรือแผ่นกระดานรองกระดาษเขียนแบบ โดยให้พอเหมาะกับผู้ที่จะเขียนแบบทำการเขียนแบบมีความคล่องตัวในการเขียนแบบ กระดาษเขียนแบบจะต้องวางไม่สูงเกินไปจนเกือบจะชิดกับขอบด้านบนของโต๊ะเขียนแบบ,แผ่นกระดานรองกระดาษเขียนแบบหรือวางต่ำลงมาจนเกือบชิดขอบด้านล่างของโต๊ะ,แผ่นกระดานรองกระดาษเขียนแบบ กระดาษเขียนแบบให้ห่างจากขอบโต๊ะเขียนแบบทางด้านซ้ายมือประมาณ ๑ ผ่ามือ หรือ ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร จากนั้นให้นำไม้ฉากที (T-Square) วางทับบนกระดาษเขียนแบบ โดยให้หัวของไม้ฉากทีแนบชิดกับขอบโต๊ะเขียนแบบด้านซ้ายมือ ซึ่งบรรทัดยาวไม้ฉากทีจะทำมุมฉากกับขอบโต๊ะเขียนแบบ ใช้ฉากสามเหลี่ยม (Set-Square) วางบนขอบบรรทัดไม้ฉากที ให้ขอบด้านมุมฉากของฉากสามเหลี่ยมอยู่ในแนวเดียวกันกับขอบด้านซ้ายกระดาษเขียนแบบ และฉากสามเหลี่ยมทำมุมฉากกับไม้ฉากที จัดขอบกระดาษเขียนแบบให้อยู่ในแนวเดียวกันกับด้านมุมฉากของฉากสามเหลี่ยม เมื่อจัดเข้าที่เรียบร้อยแล้วให้ติดมุมกระดาษเขียนแบบทั้ง ๔ ด้าน ด้วยกระดาษกาวหรือเทปใส (Scottape) โดยให้ติดขวางมุม แต่จะต้องติดลึกเข้าไปในพื้นที่กระดาษเขียนแบบมากนัก การติดขวางมุมเพื่อป้องกันกระดาษเขียนแบบ หลุดออกได้ง่ายขณะทำการเขียนแบบ เมื่อติดมุมกระดาษเขียนแบบเรียบร้อยแล้ว ยกเครื่องมือเขียนแบบออก ก็จะได้การติดกระดาษเขียนแบบที่ถูกต้องและใช้ในการเขียนแบบต่อไป

       ๘. ผ้ายาง หรือเทปกาว ( Scotch Tape ) ใช้ติดกระดาษเขียนแบบกับโต๊ะเขียนแบบ หรือกระดานเขียนแบบให้แน่นในขณะเขียนแบบทุกครั้ง เพื่อป้องกันกระดาษเลื่อน การติดกระดาษเขียนแบบที่ถูกวิธีนั้น ต้องติดขวางมุมกระดาษเขียนแบบทั้ง ๔ มุมกระดาษ

                    
 ๙. บรรทัดโค้ง ( Irregular Curves ) บรรทัดโค้งใช้สำหรับเขียนเส้นโค้งที่วงเวียนไม่สามารถเขียนได้ โดยทำการจุดไว้ให้ได้ ๓ จุด แล้วลากเส้นผ่านตามจุดนั้นๆตามบรรทัดโค้งเลื่อนบรรทัดโค้งความโค้งตามไปครั้งละ ๓ จุด จนกว่าจะได้รูปตามต้องการ
                            
   
   ๑๐. บรรทัดสเกล ( Scale ) ใช้สำหรับย่อส่วนตามต้องการ มีลักษณะเป็นแท่งสามเหลี่ยม ๖ ด้าน ในแต่ละด้านจะมีมาตราส่วนย่อไว้ดังนี้ ๑ : ๒๐, ๑ : ๒๕, ๑ : ๕๐, ๑ : ๗๕, และ ๑ : ๑๐๐